เมืองทอง สมยาประเสริฐ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง อีกหนึ่งคน ที่มีทั้งความพพยายาม ความอดทน และมีดวงช่วยเสริมส่ง จึงผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ และแจ้งเกิดในวงการลุกทุ่งได้ในที่สุด
เมืองทอง สมยาประเสริฐ มีชื่อจริงว่า นายวิชิต นามสกุล นุ่มสำลี เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2487 ที่หัวตะเข้ จังหวัดสมุทรปราการ ในครอบครัวหมอทำขวัญนาค ทำให้มีพื้นฐานและความสามารถด้านการโห่และแหล่เป็นพิเศษ ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กๆ มีศิลปินที่เป็นต้นแบบของการร้องเพลง คือ คุณเมืองมนต์ สมบัติเจริญ และในวัยหนุ่มได้นำ เพลงโห่ ของคุณเมืองมนต์ มาใช้ในการประกวดหลายต่อหลายครั้ง
เมื่ออายุได้ประมาณ 14-15 ปี ได้ไปสมัครเป็นนักร้องอยู่กับ วงพรพนา จิตเจริญ แต่อยู่กับวงหลายปีก็ยังไม่มีโอกาสได้ร้องเพลง จนในปี พ.ศ. 2507 ได้พบกับ คุณแดนชัย จำนงค์สา ซึ่งเป็นพี่ชายของ คุณวิมวิลาศ บางแก้ว นักจัดรายการวิทยุชื่อดังในสมัยนั้น คุณแดนชัยจึงแนะนำให้ไปอยู่กับวงวิมวิลาศ (นักร้องดังในวงวิมวิลาศตอนนั้น ได้แก่ คุณเด่น คุณแดน และคุณนกน้อย บุรีรัมย์) โดยได้ใช้ชื่อของการเป็นนักร้องครั้งแรกว่า “สมเกียรติ ลูกบางแก้ว” และได้ทำการบันทึกเสียงครั้งแรก 4 เพลงคือ เพลงเศร้าให้เซ่อ เพลงดอกไม้เวียงเหนือ เพลงน้ำไหลใจหญิง (3 เพลงนี้ประพันธ์เพลงโดย ครูประเทือง บุญประพันธ์) และไม่ทราบชื่อ 1 เพลง ต่อมาคุณวิมวิลาศประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จึงต้องออกจากวงกลับไปอยู่บ้านเกิดเหมือนเดิม
แต่ด้วยดวงและใจที่รักการเป็นนักร้อง หลังจากนั้นไม่นานได้ผ่านไปเห็นป้ายการแสดงของ วงดนตรี เทียนชัย สมยาประเสริฐ ที่โรงหนังพระโขนงรามา ซึ่งในขณะนั้น วงเทียนชัยกำลังโด่งดังและมีชื่อเสียงมาก (ถือว่าเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ดังเทียบเคียงได้กับวง สุรพล สมบัติเจริญ) จึงแวะเข้าไปดูการแสดง และบังเอิญที่คุณพนม นพพร (หรือพนาวัลย์ ลูกเมืองชล ในขณะนั้น) กำลังจะลาออกจากวงพอดี จึงไปสมัครขอเป็นนักร้องในวง ครูเทียนชัยจึงให้โอกาสขึ้นไปร้องเพลงโชว์บนเวที โดยให้ผู้ที่เข้ามาดูดนตรีเป็นผู้ปรบมือตัดสิน (ครั้งนั้นก็ร้องเพลงโห่ของคุณเมืองมนต์เช่นเดิม) ปรากฏว่า คนดูปรบมือชื่นชมกันมาก ครูเทียนชัยจึงตัดสินใจรับเข้ามาอยู่ในวงทันที และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “เมืองทอง สมยาประเสริฐ” ตั้งแต่นั้น ซึ่งนับเป็นนักร้องดังคนที่ 3 ที่ใช้นามสกุล “สมยาประเสริฐ”
เข้าทำเนียบนักร้องดัง : แต่โอกาสที่จะร้องเพลงโชว์หน้าเวทีก็ยังมีไม่มากครั้งนัก เนื่องจากในสมัยนั้นวงเทียนชัยมีนักร้องดังในวงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชัยชนะ บุญนะโชติ ชัยณรงค์ บุญนะโชติ อรุณ รุ่งรัตน์ เมืองแมน สมยาประเสริฐ กุศล กมลสิงห์ กิ่งแก้ว ศรีสาคร กิ่ง บางระกำ มานพ แก้วมณี โชค มหาชัย ชาย ชาตรี มิตร เมืองแมน ขจร ปลื้มจิตร และ พจน์ พนาวัน เป็นต้น
จังหวะบังเอิญที่ครูเทียนชัยจะให้นักร้องดังคือ กิ่ง บางระกำ บันทึกเสียงผลงานเพลงของครูสนิท มโนรัตน์ (ผู้แต่งเพลง หนุ่มนารอนาง ทหารเรือมาแล้ว บาร์หัวใจ ฯลฯ) แต่กิ่ง บางระกำ ไปไม่ได้ ครูเทียนชัย จึงให้ เมืองทอง ทำการบันทึกเสียงแทน โดยเพลงที่ครูสนิท มโนรัตน์ แต่งให้เพื่อทำการบันทึกเสียงในครั้งนั้น (ประมาณ พ.ศ. 2009-2010) คือ เพลงหลานสาว แต่เพลงนี้มาโด่งดังอย่างมากประมาณ พ.ศ. 2511-2513 และส่งให้ “เมืองทอง สมยาประเสริฐ” ขึ้นทำเนียบเป็นนักร้องดังในยุกต์นั้นคู่กับนักร้องหญิงที่ถือว่าเป็นคู่ขวัญแม่เหล็กของวงเทียนชัย คือ คุณกิ่งแก้ว ศรีสาคร ซึ่งร้องเพลงแก้ คือ เพลงอาจ๋า (เพลงดังอื่นๆ ได้แก่ เพลงอย่าลืมโคราช และโรงแรมใจ เป็นต้น)
ผลงานเด่น : นอกจากเพลง หลานสาว แล้ว ในช่วงที่อยู่กับวงเทียนชัยนั้น เมืองทองได้มีโอกาสบันทึกแผ่นเสียงอีกไม่น้อยกว่า 20 เพลง โดยเพลงเด่นๆ นอกจากเพลงหลานสาว ได้แก่ เพลง พี่สาว เมียแก่ นารีไทยแลนด์ นิราศรักภาคอีสาน นิราศเมืองเหนือ เก่าเก่าใหม่ใหม่ (ซี้ย่ำปึ้ก) บ๊ะจ่าง โรงเรียนรัก เรียมเหลือทน ไม่บ้าก็บอ สั้น หัวใจบี้ นางใจคนจน ดังหลายแบบ ปีวอกหลอกให้รอ โอ๊ยปวดใจ สาวขอนแก่น หมดตัวแน่ๆ สองศรีพี่น้อง ซุปเปอร์เมีย แบกรัก และพื้นดินที่สิ้นแตง (ยอดรัก สลักใจ นำมาร้องในช่วงเข้าวงการใหม่ๆ) เป็นต้น
เมืองทองถือได้ว่าเป็นนักร้องดังที่มีแฟนเพลงนิยมชมชอบในระดับหนึ่งเลยทีเดียว และเป็นหนึ่งในขุนพลเพลงของวงเทียนชัยที่ได้มีโอกาสได้ร้องเพลงประชัน กับวงดนตรีชั้นนำในยุกต์นั้นอย่างวงสุรพล สมบัติเจริญ วงสมานมิตร เกิดกำแพง และวงรวมดาวกระจาย ที่วัดสนามชัย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2509 และยังมีโอกาสร้องเพลงโชว์ทางโทรทัศน์อีกหลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายที่เมืองทองมีโอกาสได้ร้องเพลงโชว์ทางรายการโทรทัศน์ ได้แก่ รายการบุปผาสวรรค์ ช่วงชุมชนคนลูกทุ่ง ทาง ท.ท.บ.5
บั่นปลาย : เมืองทองอยู่กับวงเทียนชัย จนกระทั่งครูเทียนชัยเลิกวงและหันไปจัดรายการวิทยุอย่างจริงจังอีกครั้ง (ประมาณ พ.ศ. 2515-2516) เมืองทองจึงได้ย้ายมาอยู่กับ นายห้างประจวบ จำปาทอง โดยทำหน้าที่หัวหน้าวงดนตรี จำปาทอง 5 และเดินสายอยู่กับวงอีกเกือบ 10 ปี จนประมาณ พ.ศ. 2527 วงการลูกทุ่งได้เริ่มเข้ายุกต์ถดถอย การเดินสายของวงดนตรีลูกทุ่งเริ่มไม่เป็นที่ได้รับการนิยม จึงได้เลิกร้องเพลงแล้วหันไปประกอบอาชีพส่วนตัว แต่ก็ยังมีโอกาสได้ร้องเพลงโชว์ เป็นคณะกรรมการติดสินการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และพบปะเพื่อนนักร้องรุ่นราวคราวเดียวกันบ้างเป็นครั้งคราว
ลาลับ : เมืองทองมีสุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด จนกระทั่งมาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 นับเป็นการออกจากวงการเพลงลูกทุ่งอย่างถาวรในวัยเพียง 61 ปี 7 วัน (เสียชีวิตหลังจากครูเทียนชัน สมยาประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้ปลุกปั้น ประมาณ 1 ปี 6 เดือน)
1. เศร้าให้เซ่อ คำร้อง/ทำนอง ครูประเทือง บุญประพันธ์ (เพลงแรกที่บักทึกเสียง ใช้ชื่อ “สมเกียรติ ลูกบางแก้ว”)
5. หลานสาว คำร้อง/ทำนอง ครูสนิท มโนรัตน์ (เพลงแรกที่บักทึกเสียง ใช้ชื่อ “เมืองทอง สมยาประเสริฐ” : กิ่งแก้ว ศรีสาคร ร้องแก้ ในเพลง “อาจ๋า” และยุพิน แพรทอง ร้องเพลงต่อเนื่องไว้ด้วยในเพลง “หลานสาว”)
6. ผืนดินที่สิ้นแตง คำร้อง/ทำนอง ครูสนิท มโนรัตน์ (กิ่งแก้ว ศรีสาคร ร้องแก้ ในเพลง “ฝากใจถึงไร่แตง”)